เมนู

โพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือพระเจ้าข้า ธรรมเหล่านี้ พระองค์ตรัสเรียกว่า
นีวารณะ นีวารณะ หรือพระเจ้าข้า ธรรมเหล่านี้พระองค์ตรัสเรียกว่า
ปัญจุปาขันธ์หรือพระเจ้าข้า ในโลกนี้อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
อันประเสริฐที่สุดของคน พระผู้มีพระภาคเจ้าอันชนมีบริษัท 4 เป็นต้น
นั้นทูลถามแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรเหล่าใด มีโพชฌังคสังยุต เป็นต้น
หรือแม้สูตรอื่นใดมีเทวดาสังยุต สักกปัญหสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหา-
เวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร และขรโลมสูตร
เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้นชื่อว่า มีเหตุตั้งพระสูตรเป็นไปด้วยอำนาจ
คำทูลถาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเกิดขึ้นแล้วตรัสพระสูตรเหล่านั้น
ใด คือ ธัมมทายาทสูตร มังสูปมสูตร ทารุขันธูปมสูตร อัคคิขันธูปม-
สูตร เผณปิณฑูปมสูตร (และ) ปาริฉัตตกูปมสูตร เป็นต้น พระสูตร
เหล่านั้นชื่อว่า เหตุตั้งพระสูตรคือเกิดเรื่องขึ้น.
บรรดาเหตุตั้ง (พระสูตร) 4 อย่างเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ปฏิจจ-
สมุปบาทสูตรนี้ ชื่อว่ามีเหตุตั้ง (พระสูตร) คือ อัธยาศัยคนอื่น.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระสูตรนี้ไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัย
บุคคลอื่น ถามว่า ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยบุคคลชนิดไหน. ตอบว่า
ชนิดอุคฆติตัญญู.
จริงอยู่

บุคคลมี 4

จำพวก คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ
(และ) ปทปรมะ. บรรดาบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรม
พร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง นี้เรียกว่า อุคฆติตัญญู.
บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมในเมื่อท่านขยายความของข้อธรรมที่ท่านกล่าวไว้

โดยย่อให้พิศดาร นี้เรียกว่า วิปจิตัญญู. บุคคลเมื่อใช้โยนิโสมนสิการ
โดยอุทเทสและปริปุจฉา เสพคนนั่งใกล้กัลยาณมิตร จึงได้ตรัสรู้ธรรม
นี้เรียกว่า เนยยะ. บุคคลถึงจะฟังมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี
ท่องบ่นมากก็ดี ก็ไม่ได้ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระสูตรนี้ ด้วยอำนาจอัธยาศัยของเหล่า
บุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญู ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ทราบว่าในคราวนั้นภิกษุชาวชนบทจำนวน 500 รูป ทั้งหมดแล
เที่ยวไปรูปเดียว (บ้าง) เที่ยวไป 2 รูป (บ้าง) เที่ยวไป 3 รูป
(บ้าง) เที่ยวไป 4 รูป (บ้าง) เที่ยวไป 5 รูป (บ้าง) มีความ
ประพฤติเป็นสภาคกัน ถือธุดงค์ ปรารภความเพียร ประกอบความเพียร
เป็นนักวิปัสสนา ปรารถนาการแสดงปัจจยาการที่ละเอียด สุขุม แสดง
ความว่างเปล่า เวลาเย็น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้ว มุ่งหวังการแสดงปัจจยาการ จึงพากันนั่งแวดล้อม (พระองค์)
เหมือนแวดล้อมด้วยม่านผ้ากัมพลสีแดงฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ปรารภพระสูตรนี้ เพราะอำนาจอัธยาศัยขอกพวกเธอ. เปรียบเหมือนจิตรกร
ผู้ฉลาดได้ฝาเรือนที่ยังไม่ได้ฉาบทาเลย ยังไม่สร้างรูปภาพตั้งแต่ต้นเลย
แต่เขาทำการฉาบฝาเรือนด้วยการฉาบทาด้วยดินเหนียวเป็นต้นก่อนแล้ว
สร้างรูปภาพที่ฝาเรือนที่ฉาบทาแล้ว แต่ครั้นได้ฝาเรือนที่ฉาบทาแล้ว ไม่
ต้องทำการขวนขวายในฝาเรือนเลย ผสมสีแล้ว เอาสายเชือกหรือแปลง
ทาสีสร้างรูปภาพอย่างเดียวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ได้
กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร แต่ยังไม่ทำความเชื่อมั่น จึงมิได้ตรัสบอก
ลักษณะวิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า อัน

เป็นปทัฏฐานพระอรหันต์แก่เธอแต่ชั้นต้น แต่ทรงประกอบ (เธอ)
ไว้ในสัมปทาคือ ศีล สมาธิ และกัมมัสสกตาทิฏฐิ ความเห็นว่าสัตว์
มีกรรมเป็นของตนเสียก่อน จึงตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่ง
พระองค์ทรงมุ่งหมายตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงชำระ
ปฏิปทาเบื้องต้นในกุศลธรรม ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม (คือ)
ศีลที่บริสุทธิ์และทิฏฐิที่ตรง ดูก่อนภิกษุ เธอจักมีศีลบริสุทธิ์ และทิฏฐิ
ตรงในกาลใดแล ดูก่อนภิกษุ ในกาลนั้นเธออาศัยศีล ดำรงในศีลแล้ว
เจริญสติปัฏฐาน 4 โดย 3 อย่าง. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา โทมนัสในโลก พิจารณาเห็นกายภายนอก ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งภายในและภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสได้
ในโลก. ดูก่อนภิกษุ ในกาลใดแล เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล พึง
เจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ ในกาลนั้น กลางคืน
หรือกลางวันจักมาถึงเธอ ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรม เธอพึงหวัง
ได้ ไม่มีความเสื่อมเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการอบรมด้วยศีลกถาแก่อาทิกัมมิก-
กุลบุตร ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสบอกลักษณะแห่งวิปัสสนา อัน
ละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต
และครั้นได้ภิกษุนักวิปัสสนา ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ปรารภความเพียร
ประกอบความเพียรแล้วก็ไม่ตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแก่เธอ
แต่จะตรัสบอกลักษณะแห่งวิปัสสนาอันละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า

ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตตรง ๆ เลย. ภิกษุจำนวน 500 รูป
เหล่านี้ครั้นชำระปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแล้ว ดำรงอยู่เหมือนทองคำ
บริสุทธิ์ คล้ายกับก้อนมณีที่ขัดแล้ว. โสกุตรมรรคอย่างหนึ่งไม่ได้มา
ถึงพวกเธอเลย พระศาสดาได้พิจารณาอัธยาศัยของพวกภิกษุเหล่านั้น
เพื่อจะใช้ถึงโลกุตรมรรคนั้น จึงทรงนำพระสูตรนี้มา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ได้แก่ปัจจยาการ.
จริงอยู่ ปัจจยาการอาศัยกันแล้ว ย่อมให้สหชาตธรรมเกิดขึ้น. เพราะ-
ฉะนั้น ปัจจยาการพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาท.
ความสังเขปในนิทานวรรคนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึงค้นคว้า
จากคัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค.
ศัพท์ว่า โว ในคำว่า โว นี้ ย่อมใช้ได้ทั้งในปฐมาวิภัตติ
ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และในการทำบท
ให้เต็ม จริงอยู่ โว ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในปฐมาวิภัตติ ในประโยค
เป็นต้นว่า กจฺจ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา ดูก่อน
อนุรุทธ และอานนท์ พวกเธอยังบันเทิงพร้อมเพรียงกันดีอยู่หรือ.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปเสีย เราประณามพวกเธอ ใช้ในตติยาวิภัตติ
ในประโยคเป็นต้นว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพํ อันเธอทั้งหลาย
ไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา. ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า
วนปฏฺฐปริยายํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
วนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ. ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า
สพฺเพสํ โว สารีปุตฺต สุภาสิตํ สารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด

เป็นสุภาษิต. ใช้ในปทปูรณะ. (ทำบทให้เต็ม) ในประโยคเป็นต้นว่า
เย หิ โว อริยา ปริสุทฺธกายกมฺมนิตา ก็พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่าใด
แล มีการงานทางกายบริสุทธิ์. แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า โว นี้ พึงเห็นว่า
ลงในจตุตถีวิภัตติ.
คำว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกเหล่าภิกษุผู้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์
ด้วยรับพระดำรัส. คำว่า เทเสสฺสามิ เป็นคำปฏิญญาที่จะแสดง (ธรรม).
คำว่า ตํ สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น คือ
เทศนากัณฑ์นั้นที่เรากำลังกล่าวอยู่.
ก็คำว่า สาธุกํ นั้น ในคำว่า สาธุกํ มนสิกโรถ นี้ มีเนื้อความ
เป็นอันเดียวกันว่า สาธุ อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทูลขอ
การตอบรับ การทำให้ร่าเริง ความดีและการทำให้มั่นคงเป็นต้น. จริงอยู่
สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทูลขอ ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอ
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่พระองค์เถิด
ใช้ในอรรถว่า ตอบรับ ในคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ
ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา
ภิกษุนั้นแล กราบทูลว่า
ดีแล้วพระเจ้าข้า ดังนี้ ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ใช้ในอรรถว่า ทำใจให้ร่าเริง ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ
สารีปุตฺต ดีแล้ว ดีแล้ว พระสารีบุตร. ใช้ในอรรถว่า ดี ในประโยค
เป็นต้นว่า
สาธุ ธมฺมรุจิราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทุพฺโภ ปาปสฺส อกรณํ สุขํ.

พระราชาผู้ทรงชอบพระทัยในธรรมดี นรชนผู้มี
ปัญญาดี การไม่ประทุษร้ายมิตรดี การไม่ทำความชั่ว
เป็นสุข.

สาธุก ศัพท์นั่นแลใช้ในการกระทำให้มั่นเข้า ในประโยคเป็นต้นว่า
เตนหิ พฺราหฺมณ สาธุกํ สุณาหิ พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงสดับ
ให้มั่น. สาธุก ศัพท์นี้ท่านกล่าวว่า ใช้ในการบังคับก็ได้. แต่ในที่นี้
สาธุก ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า การกระทำให้มั่นเข้าอย่างเดียว. อนึ่ง อรรถ
แห่งการบังคับพึงทราบต่อไป แม้ในอรรถว่า เป็นความดีก็ใช้ได้. สาธุก
ศัพท์ในอรรถทั้งสองงนั้นท่านแสดงไว้ด้วยอรรถแห่งการทำให้มั่นว่า ทฬฺหํ
อิมํ ธมฺมํ สุณาก สุคหิตํ คณฺหนฺตา
เมื่อจะถือเอาให้ดี พวกเธอก็
จงฟังธรรมนี้ให้มั่น ด้วยอรรถแห่งการบังคับว่า มม อาณตฺติยา สุณาถ
เธอทั้งหลายจงฟังตามคำสั่งของเรา ด้วยอรรถว่า เป็นความดีว่า สุนฺทรมิมํ
ภทฺทกํ ธมฺมํ สุณาถ เธอจงฟังธรรมนี้ให้ ให้เจริญ. บทว่า
มนสิกโรถ ความว่า จงระลึก คือประมวลมา. อธิบายว่า เธอจงมีจิต
ไม่ฟุ้งซ่านตั้งใจฟัง คือทำไว้ในใจ.
บัดนี้ คำว่า ตํ สุณาถ ในที่นี้นั้น เป็นคำห้ามการที่โสตินทรีย์
ฟุ้งซ่าน. คำว่า สาธุกํ มนสิกโรถ เป็นคำห้ามการที่มนินทรีย์
ฟุ้งซ่าน ด้วยการประกอบให้มั่นในมนสิการ ก็ใน 2 คำนี้ คำแรกเป็น
การยึดถือด้วยความคลาดเคลื่อนแห่งพยัญชนะ คำหลังเป็นการห้ามการยึด
ถือความคลาดเคลื่อนแห่งเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบภิกษุ
ไว้ในการฟังธรรมด้วยคำแรก. ทรงประกอบภิกษุไว้ในการทรงจำและ
สอบสวนธรรมที่ภิกษุฟังแล้วด้วยคำหลัง. อนึ่ง ด้วยคำแรกย่อมทรง

แสดงว่า ธรรมนี้เป็นไปด้วยพยัญชนะ เพราะฉะนั้น จึงควรฟัง ด้วย
คำหลังทรงแสดงว่า ธรรมนี้เป็นไปด้วยเนื้อความ เพราะฉะนั้น จึงควร
ทำไว้ในใจ. อีกอย่างหนึ่ง ควรประกอบสาธุกบทด้วยบท 2 บท พึง
ทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะธรรมนี้ลึกซึ้งโดยธรรม และ
ลึกซึ้งโดยทศนา ฉะนั้น พวกเธอจงฟังให้ดี. เพราะเหตุที่ธรรมนี้ลึกซึ้ง
โดยอรรถและลึกซึ้งโดยปฏิเวธ ฉะนั้น พวกเธอจงทำในใจให้ดี. บทว่า
ภาสิสฺสามิ แปลว่า จักแสดง. ในคำว่า ตํ สุณาถ นี้ ท่านอธิบาย
ว่า เราจักสังเขปความ แสดงเทศนาที่เราปฏิญญาไว้แล้วนั้น.
อีกอย่างหนึ่งแล เราจักไม่กล่าวแม้โดยพิสดาร. อนึ่ง บทเหล่านี้
เป็นบทบอกความย่อและพิสดารไว้ เหมือนดังที่ท่านพระวังคีสเถระกล่าว
ไว้ว่า
สงฺขิตฺเตนปิ เทเสติ วิตฺถาเรนปิ ภาสติ
สาลิกายิว นิคฺโฆโส ปฏิภาณํ อุทิรียตํ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง
ตรัสโดยพิสดารบ้าง ทรงมีพระสุรเสียงกังวานดัง
นกสาลิกา ทรงแสดงออกซึ่งปฏิภาณ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นแลเกิดความ
อุตสาหะแล้ว ฟังตอบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีคำอธิบายรับแล้ว คือรับ
รองพระดำรัสของพระศาสดาว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ที่จะพึงตรัสในบัดนี้แก่ภิกษุเหล่านั้น มีอาทิว่า
กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท. บรรดาบทเหล่านั้น กตโม จ
ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท
เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อจะตรัส
ตอบเอง.
จริงอยู่

การถามมี 5

อย่าง คือ การถามส่องความที่ยังไม่เห็น
การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว การถามตัดความสงสัย การถามเห็นตาม
(อนุมัติ ) การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง การถาม 5 อย่างเหล่านั้น มี
ความต่างกันดังต่อไปนี้ :-
การถามส่องความที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน. ลักษณะแห่งคำถามตาม
ปกติ อันชนอื่นไม้รู้ ไม่เหิน ไม่ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง
ไม่ไขให้แจ้ง. บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา
แจ่มแจ้ง ไขปัญหานั้นให้เห็นแจ้ง การถามนี้ ชื่อว่าการถามส่องความ
ที่ยังไม่เห็น.

การถามเทียบเคียงความที่เห็นแล้วเป็นไฉน. ลักษณะ (คำถาม )
ตามปกติ อันตนรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา แจ่มแเจ้ง ชัดเจนแล้ว
บุคคลนั้นย้อมถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น. การถามนี้ ชื่อ
ว่าการถามเทียบเคียงความที่ตนเห็นแล้ว.

การถามตัดความสงสัยเป็นไฉน ตามปกติบุคคลผู้แล่นไปสู่ความ
สงสัย. ผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดแยกเป็น 2 แพร่งว่า
อย่างนี้ใช่หรือหนอ หรือมิใช่ หรือเป็นอย่างไร เขาจึงถามปัญหาเพื่อ
ตัดความสงสัย การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามตัดความสงสัย.
การถามเห็นตาม (อนุมัติ ) เป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้า